โครงการศึกษาพัฒนาสารสกัดพืชจุลินทรีย์ไล่แมลงด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน
สำนักงานเทศบาลตำบลเกาะแก้ว อำเภอเสลภูมิ
จังหวัดร้อยเอ็ด
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเทศบาลตำบลเกะแก้ว
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเทศบาลตำบลเกะแก้ว
หลักการและเหตุผล
เนื่องจากในปัจจุบันนี้เกษตรกรในเทศบาลตำบลเกาะแก้วส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร
ซึ่งมักจะประสบปัญหาเรื่องศัตรูพืชรบกวนอยู่เป็นประจำ และทำให้ผลผลิตต่อไร่ต่ำ
ไม่ค่อยมีคุณภาพตามความต้องการของท้องตลาด จึงเป็นปัญหากับเกษตรกร
ทำให้เกษตรกรหันมาใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช
เป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตและมีสารพิษตกค้าง
ซึ่งหากช่วยให้เกษตรกรหันมาใช้สารสกัดพืชจุลินทรีย์ไล่แมลงจะทำให้ช่วยลดต้นทุนการผลิตและผลผลิตมีคุณภาพดีปลอดจากสารพิษตกค้าง
ตลอดจนช่วยให้เกษตรกรมีผลผลิตและรายได้เพิ่มขึ้น นั้น
จากสภาวะดังกล่าวเกษตรกรมักจะไม่ประสบผลสำเร็จในการผลิตผลผลิตทางการเกษตร
อันเนื่องมาจากต้นทุนการผลิตสูง ราคาของผลผลิตค่อนข้างตกต่ำ
และอันตรายที่จะเกิดจากสารพิษตกค้างของสารเคมีในดินและในร่างกาย
ซึ่งปัจจุบันนโยบายของรัฐบาลให้เกษตรกรลดต้นทุนการผลิต โดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นโดยเฉพาะพืชสมุนไพร
ตลอดจนการใช้จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์พร้อมทั้งการใช้ศัตรูธรรมชาติป้องกันกำจัด
เพื่อลดปริมาณศัตรูพืชเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
รวมไปถึงการลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรและคุณภาพของผลผลิตดีขึ้น
และตัวเกษตรกรเองก็ปลอดภัยจากสารพิษตกค้างในร่างกายและในดินรวมทั้งผู้บริโภคด้วย
ดังนั้น
เทศบาลตำบลเกาะแก้ว จึงจะดำเนินโครงการศึกษาพัฒนาสารสกัดพืชจุลินทรีย์ไล่แมลงด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน
ซึ่งจะดำเนินงานตามโครงการ ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเทศบาลตำบลเกาะแก้ว
เพื่อช่วยพัฒนาสารสกัดพืชจุลินทรีย์ไล่แมลงด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน เป็นการนำสารสกัดพืชจุลินทรีย์ที่เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านของชุมชนตำบลเกาะแก้วมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกร
และให้สารสกัดพืชจุลินทรีย์ไล่แมลงที่เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านยังคงอยู่กับชุมชนตลอดไป
รวมทั้งเพื่อให้เกษตรกรนำสารสกัดพืชจุลินทรีย์ไปใช้ไล่แมลงแทนการใช้สารเคมี และช่วยลดต้นทุนการผลิต
เพิ่มผลผลิตและรายได้ให้กับเกษตรกร
ตลอดจนใช้เป็นศูนย์การเรียนรู้การผลิตสารสกัดพืชจุลินทรีย์ไล่แมลงด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านเทศบาลตำบลเกาะแก้วต่อไป
วัตถุประสงค์
1.
เพื่อศึกษาพัฒนาสารสกัดพืชจุลินทรีย์ไล่แมลงด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านของชุมชนตำบลเกาะแก้ว
2.
เพื่อนำสารสกัดพืชจุลินทรีย์ไล่แมลงด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกร
3.
เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรใช้สารสกัดพืชจุลินทรีย์ทดแทนการใช้สารเคมี
4.
เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้การผลิตสารสกัดพืชจุลินทรีย์ไล่แมลง
5.
เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรลดต้นทุนการผลิตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนตลอดไป
6.
เพื่อเผยแพร่การใช้สารสกัดพืชจุลินทรีย์ไล่แมลงด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านให้กับเกษตรกร
เป้าหมาย
- ให้ความรู้การผลิตสารสกัดพืชจุลินทรีย์ไล่แมลงด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านกับเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย
ในพื้นที่เทศบาลตำบลเกาะแก้ว ตลอดจนนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ดที่ขอเข้าศึกษาเรียนรู้
- นำสารสกัดพืชจุลินทรีย์ไล่แมลงด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน
แจกจ่ายให้กับเกษตรกร กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่เทศบาลตำบลเกาะแก้ว
กิจกรรมตามโครงการ
-
ผลิตสารสกัดน้ำสะเดาสูตรเข้มข้น
-
ผลิตน้ำหมักหอยเซอรี่และน้ำฮอร์โมนผลไม้
-
ผลิตสารสกัดจากเมล็ดมะกล่ำ
วิธีการดำเนินการ
-
จัดทำโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติ
-
สำรวจเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย
-
จัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินโครงการฯ
-
ดำเนินการตามโครงการฯ
-
จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการฯ
-
ติดตามผลการดำเนินงานตามโครงการฯ
พื้นที่ในการดำเนินงาน
-
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเทศบาลตำบลเกาะแก้ว
ระยะเวลาดำเนินการ
-
ระหว่างเดือนสิงหาคม – ธันวาคม 2556
ผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการ
-
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเทศบาลตำบลเกาะแก้ว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
งบประมาณ/แหล่งที่มา
-
ใช้งบประมาณจากสำนักงานเทศบาลตำบลเกาะแก้ว
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.
พัฒนาสารสกัดพืชจุลินทรีย์ไล่แมลงด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกรสูงสุด
2.
ช่วยพื้นฟูการใช้สารสกัดพืชจุลินทรีย์ไล่แมลงด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน
3.
เผยแพร่การใช้สารสกัดพืชจุลินทรีย์ไล่แมลงด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านให้กับเกษตรกรและผู้สนใจ
4.
ใช้เป็นศูนย์เรียนรู้การผลิตสารสกัดพืชจุลินทรีย์ไล่แมลงด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านตำบลเกาะแก้ว
5.
การเกษตรนำสารสกัดพืชสารสกัดพืชจุลินทรีย์ไล่แมลงแทนการใช้สารเคมี
6.
เกษตรกรได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ช่วยลดต้นทุนการผลิต
ผู้อนุมัติโครงการ
นายชัยชนะ รัตนชัยฤทธิ์ นายกเทศมนตรีตำบลเกาะแก้ว
ผู้รับผิดชอบโครงการ
สำนักปลัดเทศบาลตำบลเกาะแก้ว งานพัฒนาชุมน ร่วมกับศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเทศบาลตำบลเกาะแก้ว
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเทศบาลตำบลเกาะแก้ว
ได้ดำเนินการจัดทำสารสกัดพืชจุลินทรีย์ไล่แมลงด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน
เพื่อศึกษาพัฒนาสารสกัดพืชจุลินทรีย์ด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน นำสารสกัดพืชจุลินทรีย์ไล่แมลงด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกร
ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้สารสกัดพืชจุลินทรีย์ทดแทนการใช้สารเคมี
และส่งเสริมให้เกษตรกรลดต้นทุนการผลิตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนตลอดไป
ตลอดจนเผยแพร่การใช้สารสกัดพืชจุลินทรีย์ไล่แมลงด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านให้กับเกษตรกร
พืชสมุนไพรพื้นบ้าน
ต้นหนอนตายหยาก
ชื่อที่เรียก
หนอนตายหยาก
ชื่ออื่นๆ
หนอนตายหยาก
หมวดหมู่ทรัพยากร
พืช
ลักษณะ
- เป็นไม้เถา
เถากลมเล็กเรียวสีเขียว พาดพันต้นไม้อื่น
- ใบรูปหัวใจ เส้นใบวิ่งตามยาวราว 10 เส้น ผิวและขอบเรียบ สีเขียวเข้ม
- มีหัวเป็นแท่งกลมยาว ขนาดนิ้วมือเป็นกระจุก
- ดอกตูมเป็นรูปเหมือนเงินราง สีเขียวอมเหลือง บานออกเป็นสีแดงเข้ม หรือขาว
- ใบรูปหัวใจ เส้นใบวิ่งตามยาวราว 10 เส้น ผิวและขอบเรียบ สีเขียวเข้ม
- มีหัวเป็นแท่งกลมยาว ขนาดนิ้วมือเป็นกระจุก
- ดอกตูมเป็นรูปเหมือนเงินราง สีเขียวอมเหลือง บานออกเป็นสีแดงเข้ม หรือขาว
- ฝักขนาดหัวแม่มือ คล้ายลูกรักบี้ ยาว 3-4 ซ.ม. กว้าง 1.5-2 ซ.ม. ฝักอ่อนสีเขียว ฝักแก่สีน้ำตาลเข้ม
จะแตกเมื่อแห้ง แต่ละฝักมี 20 - 30 เมล็ด ที่ขั้วเมล็ดมีขนปุยอ่อนพยุงเมล็ดให้ลอยตามลม
ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ คือ ราก (หัว) รสเมาเบื่อ
- ใช้ปรุงยารับประทาน
- แก้โรคผิวหนัง น้ำเหลืองเสีย ผื่นคันตามร่างกาย
- ฆ่าเชื้อโรคพยาธิภายใน
- ตำผสมน้ำเอาน้ำพอกทาฆ่าหิด เหา แมลง หนอนศัตรูพืช
- ต้มกับยาฉุน รมหัวริดสีดวงให้ฝ่อแห้งไป
- แก้โรคผิวหนัง น้ำเหลืองเสีย ผื่นคันตามร่างกาย
- ฆ่าเชื้อโรคพยาธิภายใน
- ตำผสมน้ำเอาน้ำพอกทาฆ่าหิด เหา แมลง หนอนศัตรูพืช
- ต้มกับยาฉุน รมหัวริดสีดวงให้ฝ่อแห้งไป
ประโยชน์ทางก่รเกษตร
ใช้เป็นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช กำจัดแมลงศัตรูพืช เช่น
หนอนกัดกินใบและเพลี้ยอ่อน กำจัดเชื้อสาเหตุโรค
แหล่งที่พบในเขตเทศบาลตำบลเกาะแก้ว
- บริเวณป่าชุมชนบ้านโคกกุง หมู่ 4 ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
- บริเวณป่าชุมชนเฉลิมพระเกียรติป่าโคกท่าสี
บ้านท่าสี - หนองสำราญ หมู่ 3,13 ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
ตะไคร้หอม
ตะไคร้หอม
เป็นพืชล้มลุก
ความสูงประมาณ 4 - 6 ฟุต
ใบยาวเรียว ปลายใบมีขนหนาม ลำต้นรวมกันเป็นกอ มีกลิ่นหอม
ดอกออกเป็นช่อยาวมีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก
ตะไคร้เป็นพืชที่สามารถนำส่วนต้นหัวไปประกอบอาหาร และจัดเป็นพืชสมุนไพรด้วย
เป็นพืชตระกูลหญ้า
ตะไคร้เป็นพืชที่เจริญเติบโตง่าย อาจมีทรงพุ่มสูงถึง 1 เมตร มีลำต้นที่แท้จริงประมาณ 4 - 7 เซนติเมตร
ลำของต้นจะถูกห่อหุ้มไปด้วยกาบใบโดยรอบ ใบยาวแคบเส้นใบขนานกับก้านใบ
ใบของตะไคร้อุดมไปด้วยน้ำมันหอมระเหย
ที่นิยมนำมาปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกกันโดยทั่วไป
สารสกัดตะไคร้หอมผสมกับสารสกัดจากเมล็ดสะเดา และข่า ในอัตรา 200 มล./น้ำ 20 ลิตร
มีผลลดการเข้าทำลายของเพลี้ยอ่อนและหนอนเจาะฝักซึ่งเป็นแมลงศัตรูถั่วฝักยาวได้
แต่ไม่สามารถควบคุมการเข้าทำลายของแมลงวันเจาะต้นถั่ว
ไหลแดง
ไหลแดง
ลำต้นโดยทั่วไปมีลักษณะกลม
ใบใบอ่อนและยอดมีขนอ่อนสีน้ำตาลปนแดง
เถาหรือลำต้นส่วนที่แก่มีสีน้ำตาลปนแดงเช่นกัน
แต่จะเริ่มมีสีเขียวเห็นชัดตรงปล้องที่อยู่ก่อนถึงยอดประมาณ 2-3 ปล้อง ใบแก่มีสีเขียว ในก้านใบหนึ่งๆ
จะมีใบตั้งแต่ 5 ถึง 13 ใบ โดยใบจะขึ้นเป็นคู่ๆตรงข้ามกัน 2-4 คู่ ใบคู่แรก (นับจากโคนก้านใบ)
จะมีขนาดเล็กที่สุด และเริ่มใหญ่ขึ้นเป็นลำดับ
ใบสุดท้ายที่อยู่ตรงยอดจะเป็นใบเดี่ยว
ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดก้านใบแต่ละก้านจะขึ้นบนลำต้นสลับด้านกัน
ใบมีลักษณะคล้ายรูปไข่
กว้างประมาณ 3.0 - 9.5 ซ.ม.
และยาวตั้งแต่ 6.5 - 27.0 ซ.ม.
โคนใบเล็กเรียวขึ้นไปและปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ พื้นใบด้านบนสีเขียวลักษณะมัน
เส้นแขนงลักษณะคล้ายก้างปลาได้ชัด แต่ไม่ยาวจนชิดขอบใบ
ด้านท้องใบมีสีเขียวและเห็นเส้นใบชัดกว่าด้านบน เส้นใบมีลักษณะเขียวปนน้ำตาล
ดอกออกเป็นช่อ
มีลักษณะคล้ายดอกแคฝรั่ง ดอกตูมมีสีชมพูอมม่วง เมื่อบานเต็มที่จะเป็นสีชมพูอ่อน
และค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีขาว ช่อดอกออกตามลำต้น แต่ละช่อยาวประมาณ 20-25 ซ.ม.
ผลเกิดจากการผสมเกสร มีลักษณะเป็นฝักแบน
ฝักอ่อนมีสีเขียวและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลปนแดงเมื่อฝักแก่ ภายในฝักมีเมล็ด
ซึ่งมีลักษณะกลม และแบนเล็กน้อย สีน้ำตาลปนแดงเมื่อฝักแก่จะแยกออกจากกัน
ทำให้เมล็ดร่วงลงพื้นดินเมื่อมีความชื้นพอเหมาะ เมล็ดก็จะงอกและเจริญเติบโตเป็นลำต้นต่อไปพืชชนิดนี้มีทรงพุ่มหนาทึบ
อาจใหญ่หรือเล็กกว่าขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม สามารถปลูกเป็นไม้ร่มหรือไม้ดอกก็ได้
การใช้ประโยชน์ทางการเกษตร
สารพิษในโล่ติ้น นอกจากจะมีคุณสมบัติในการเบื่อปลาแล้ว
ยังพบว่าเมื่อพ่นบนตัวแมลง สารพิษจะถูกดูดซึมเข้าไปในกระเพาะ ทำให้แมลงตายได้
หรือใช้ในรูปของสารไล่แมลง การใช้สารพิษอาจใช้ในรูปของสารละลายหรือในรูปผง
ถ้าใช้ในรูปผงจะมีประสิทธิภาพใน การฆ่าหมัด เห็บ ไรไก่ ปลวก
แมลงวัน เรือด เพลี้ยอ่อนบางชนิด หนอนเจาะผัก มวนปีก แก้ว
ด้วงเต่าแตง ด้วงหมัดผัก เพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วงหนอนเจาะกะหล่ำปลี และศัตรูพืชผักต่าง ๆ เป็นต้น
สารพิษในโล่ติ้นสามารถใช้พ่นโดยตรงบนต้นอ่อนและใบอ่อนของพืช โดยไม่เกิดอันตรายกับพืชเพราะสารนี้เป็นสารอินทรีย์ที่ได้จากพืช สลายตัวเร็ว
ไม่มีผลตกค้างในพืชอาหารและสิ่งแวดล้อมเนื่องจากโล่ติ๊นเป็นพืชตระกูลถั่ว
สามารถปลูกเพื่อไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดบำรุงดินแล้วยังใช้ ปลูกเป็นพืชคลุมดิน
เพื่อป้องกันการสูญเสียความชื้นจากดิน และป้องกันการชะล้างของดินได้อีกด้วย
มะกล่ำตาหนู
มะกล่ำตาหนู
มะกล่ำตาหนู มะกล่ำเครือ หรือ ก่ำเคือ (อังกฤษ: Jequirity) เป็นพืชไม้เถาในวงศ์ถั่ว เมล็ดมีพิษ หรือที่รู้จักกันในชื่อ "Gunja" ในภาษาสันสกฤต เป็นพื้นเมืองของประเทศอินโดนีเซีย เติบโตได้ดีในเขตร้อนและใกล้เขตร้อน
ทำให้มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นวัชพืชต่างถิ่นที่รุกรานในพื้นที่ที่มะกล่ำตาหนูถูกนำเข้ามา
มะกล่ำตาหนูยังมีชื่อพื้นเมืองอื่น
ๆ อีกดังนี้: กล่ำเครือ กล่ำตาไก่ มะกล่ำเครือ มะกล่ำแดง มะแค๊ก (เชียงใหม่) เกมกรอม (สุรินทร์) ชะเอมเทศ
ตากล่ำ (กลาง) มะขามเถา ไม้ไฟ (ตรัง) หมากกล่ำตาแดง (ตะวันออกเฉียงเหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
มะกล่ำตาหนูเป็นพรรณไม้เถา
ลำต้นเล็ก มีขนสั้น ๆ ขึ้นประปราย
ใบเป็นใบรวม
มีใบย่อยเรียงสลับกันคล้ายขนนก ยาวประมาณ 3.8 -
10 ซม. ใบย่อยเป็นรูปกลมถึงรี ปลายใบแหลมมน โคนใบกลมมน
ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง ใบมีขนาดยาว 5 -
20 ม.ม. กว้างประมาณ 3 - 8
ม.ม. ใต้ท้องใบมีขนเล็กน้อย
ดอกเป็นช่อตามบริเวณง่ามใบ
ดอกมีกลีบเลี้ยงเป็นสีเขียวเรียงซ้อนกันตามเข็มนาฬิกา กลีบมีรอยหยัก 4 รอย สีขาว ผิวข้างนอกมีขนนุ่มปกคลุม
ผลเป็นฝัก
พองเป็นคลื่นเมล็ด ฝักเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฝักอ่อนมีสีเขียว
เนื้อเปลือกฝักจะเหนียว เมื่อแก่จะแตกอ้าออกจากกัน ข้างในมีเมล็ด 1 - 5 เมล็ด
เมล็ดเป็นรูปกลมรี
สีแดง บริเวณขั้วมีจุดสีดำ ผิวเรียบเกลี้ยง เมล็ดเหนียวและแข็ง
สารสกัดพืชจุลินทรีย์ไล่แมลงด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน
เมื่อจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเทศบาลตำบลเกาะแก้วร่วมกับนักศึกษามหาวิทยาลัยร้อยเอ็ด
ได้ดำเนินการจัดทำสารกัดพืชจุลินทรีย์ไล่แมลง
พร้อมศึกษาและพัฒนาการใช้สารสกัดพืชจุลินทรีย์ไล่แมลงภายในศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเทศบาลตำบลเกาะแก้ว
จัดทำสารสกัดพืชจุลินทรีย์ไล่แมลงด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเทศบาลตำบลเกาะแก้ว
สารสกัดพืชจุลินทรีย์ไล่แมลงด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน
บรรจุสารสกัดพืชจุลินทรีย์ไล่แมลงด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านใส่ขวดพลาสติก นำสารสกัดพืชจุลินทรีย์ไปเผยแพร่และแจกจ่ายให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อนำไปใช้ป้องกันและขับไล่แมลงแทนการใช้สารเคมี และเป็นการช่วยเกษตรกรลดต้นทุนเพิ่มผลิตต่อไป
แปลงสาธิตการใช้สารสกัดพืชจุลินทรีย์ไล่แมลงด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเทศบาลตำบลเกาะแก้ว
ได้จัดทำแปลงสาธิตการใช้สารสกัดพืชจุลินทรีย์ด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน
บริเวณแปลงสาธิตมีการปลูกพริก ฝักทอง ผักกาด มะละกอ
ภายในศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเทศบาลตำบลเกาะแก้ว
ได้จัดทำเตาเผาถ่านบริเวณแปลงปลูกพริก เพื่อใช้ประโยชน์จากป่องควันไฟ
ในการขับไล่แมลงตามภูมิปัญญาพื้นบ้าน
การดำเนินงานโครงการศึกษาพัฒนาสารสกัดพืชจุลินทรีย์ไล่แมลงด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและบรรลุตามวัตถุประสงค์ และเทศบาลตำบลเกาะแก้วร่วมกับศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเทศบาลตำบลเกาะแก้ว จะได้ดำเนินการแจกจ่ายสารสกัดพืชจุลินทรีย์ไล่แมลงด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน ให้กับเกษตรกรที่มีความสนใจในการใช้สารสกัดพืชจุลินทรีย์ไล่แมลงนำไปใช้
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเทศบาลตำบลเกาะแก้วจะถ่ายทอดการทำสารสกัดพืชจุลินทรีย์ไล่แมลงด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านให้กับเกษตรกร
เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรต่อไป
สำรวจพืชสมุนไพรในเขตพื้นที่ตำบลเกาะแก้ว
เทศบาลตำบลเกาะแก้ว อำเภอเสลภูมิ
จังหวัดร้อยเอ็ด
เทศบาลตำบลเกาะแก้วร่วมกับศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเทศบาลตำบลเกาะแก้ว
และนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ได้ทำการศึกษาและสำรวจพืชสมุนไพรในเขตตำบลเกาะแก้ว
พบว่าในเขตพื้นที่ตำบลเกาะแก้ว มีพืชสมุนไพรที่ใช้ทำสารสกัดพืชจุลินทรีย์ไล่แมลง ได้แก่ มะกล่ำตาหนู
ต้นหนอนตายหยาก เมล็ดสะเดา
และพืชสมุนไพรเหล่านี้สามารถนำมาสกัดเป็นสารป้องกันและขับไล่แมลง
และเป็นสารสกัดกำจัดเชื้อราในดิน
เทศบาลตำบลเกาะแก้วเห็นว่าพืชสมุนไพรเหล่านี้ควรอนุรักษ์
และส่งเสริมให้ชุมชนนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ให้ชุมชนได้อยู่อย่างพอเพียง
แหล่งที่พบ
1.
พื้นที่ป่าชุมชนบ้านโคกกุง หมู่ 4 บ้านโคกกุง ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เนื้อที่ 227 ไร่ 2 งาน 96 ตารางวา
2.
พื้นที่ป่าชุมชนเฉลิมพระเกียรติป่าโคกท่าสี หมู่ 3,13 บ้านท่าสี – หนองสำราญ ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เนื้อที่ 866 ไร่
การสำรวจพืชสมุนไพร
ในการสำรวจพืชสมุนไพรในครั้งนี้
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเทศบาลตำบลเกาะแก้วและนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาสารสกัดพืชจุลินทรีย์ไล่แมลงด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน
ในการสำรวจพืชสมุนไพรในครั้งนี้
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเทศบาลตำบลเกาะแก้วและนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาสารสกัดพืชจุลินทรีย์ไล่แมลงด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน
และส่งเสริมให้ชุมชนใช้สารสกัดพืชจุลินทรีย์ไล่แมลงแทนการใช้สารเคมี
ตลอดจนร่วมอนุรักษ์พืชสมุนไพรที่มีในชุมชนให้คงอยู่ตลอดไป
และศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเทศบาลตำบลเกาะแก้ว
ได้เก็บรวบรวบรวมข้อมูล เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับและพัฒนาสารสกัดพืชจุลินทรีย์ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดกับชุมชนตลอดไป
ร่วมอนุรักษ์พันธุ์พืชสมุนไพรพื้นบ้าน
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเทศบาลตำบลเกาะแก้ว